อินเทอร์เน็ต
ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง
(คล้ายกับเลขที่บ้าน)
ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้)
ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
ประวัติของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร
ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence
Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย
หรือตัดขาด
แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา
เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research
Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร
องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆเป็นอย่างมาก
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรกเมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรกเมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท
ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก
โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที
( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย
( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท
โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ
“th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535
โดยสถาบันวิทยบริการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที
จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี
( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก
ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวเตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง
ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ "อินเทอร์เน็ต"
(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน
อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด
ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้ว
ปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว
45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ
4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ
25 ล้านคน
และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง
ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี
ประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต
ในปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา
จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้
การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและโดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย
คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ
สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย
หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ"
( NECTEC ) จนกระทั่งได้
เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่
"มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก
และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา
ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP
โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง
การทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหาก าไร .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถท
าได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการท างานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา
นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail
คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ
เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการน
าไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์
(Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server)
โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) สนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ
การ ส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ
ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo
Messenger เป็นต้น
5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ
ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ
search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com,
www.google.co.th, www.sansarn.com
3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ
อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch
เช่น www.search.com, www.thaifind.com
6. บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board) เว็บบอร์ด
เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย
คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
7. ห้องสนทนา (Chat Room) ห้องสนทนา
คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน
การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com
www.pantip.com
ยุคของอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามสิบปีแล้ว
ในตลอดช่วงพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้น สามารถแบ่งได้เป็นสามยุคด้วยกัน
"Internet 1.0"
ยุคแรกเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล (Human-to-Human Communication) ในยุคนี้พัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะเป็นเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีที่สำคัญที่พัฒนาใช้งานกับอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในยุคนี้ได้แก่ อีเมล (Email) และ ยูสเน็ต (UseNet)
ยุคแรกเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล (Human-to-Human Communication) ในยุคนี้พัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะเป็นเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีที่สำคัญที่พัฒนาใช้งานกับอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในยุคนี้ได้แก่ อีเมล (Email) และ ยูสเน็ต (UseNet)
อีเมลเป็นเทคโนโลยีที่ยังมีการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วอีเมลได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล (Human-to-Community Communication) ด้วย เทคโนโลยีเพื่อการนี้เรียกว่า เมลลิ่งลิสต์ (Mailing List) ซึ่งก็ยังมีการใช้งานอยู่เช่นกัน
ส่วน UseNet ได้รับความนิยมลดน้อยลง
แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอจากผู้ใช้ที่ใช้งานมาตั้งแต่ในอดีต
ผู้ให้บริการ UseNet รายสำคัญในปัจจุบันคือ Google ภายใต้ชื่อ Google Groups นั่นเอง
"Internet 2.0"
ยุคต่อมาเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ (Human-to-Computer Communication) เทคโนโลยีสำคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ได้แก่ เว็บ (Web หรือ World Wide Web) เว็บเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานใดงานหนึ่งจากระยะไกลได้ผ่านกระบวนการใช้งานที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน
ยุคต่อมาเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ (Human-to-Computer Communication) เทคโนโลยีสำคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ได้แก่ เว็บ (Web หรือ World Wide Web) เว็บเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานใดงานหนึ่งจากระยะไกลได้ผ่านกระบวนการใช้งานที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน
ก่อนหน้าเทคโนโลยีเว็บ การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลจะเป็นการใช้งาน
“เครื่องคอมพิวเตอร์” เพื่อทำงาน ด้วยเทคโนโลยีเว็บทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเป็นการใช้งาน
“ระบบงาน” เพื่อทำงาน
อธิบายในรายละเอียดของความแตกต่างดังกล่าวจะได้ว่า
ในอดีตผู้ใช้ต้องใช้โปรแกรมจำลองหน้าจอเพื่อเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งแล้วใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำงาน
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยุคแรกๆ ของ ม.สงขลานครินทร์จะจำได้ว่าต้อง “telnet” มาใช้เครื่อง “ratree.psu.ac.th” เพื่อใช้ “pine”
ในการรับส่งอีเมลเป็นต้น แต่ด้วยเทคโนโลยีเว็บผู้ใช้ที่ต้องการรับส่งอีเมลจะใช้โปรแกรม
Web Browser เปิดเว็บที่ http://webmail.psu.ac.th/
นอกจากนี้เว็บยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้วิธีการใช้งานเดียวกันนั้น
(ผ่าน Web Browser) เพื่อใช้ “ระบบงาน” อาทิเช่น
“ระบบสารสนเทศบุคลากร ม.สงขลานครินทร์” ที่ http://dss.psu.ac.th/ “ระบบธนาคารไทยพาณิชย์” ที่ http://www.scbeasy.com ระบบสั่งซื้อสินค้า
ที่ http://amazon.com/ เป็นต้น
สังเกตว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้
“ที่อยู่เครื่องคอมพิวเตอร์” เพียงแต่รู้ “ที่อยู่ของระบบงาน”
เท่านั้น แม้ว่าที่อยู่ของเครื่องจะแฝงอยู่ในที่อยู่ของระบบงานแต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก อาทิเช่น http://www.scb.co.th และ
http://www.scbeasy.com ต่างเป็นที่อยู่ของระบบงานที่อาจอยู่ในเครื่องเดียวกัน อยู่คนละเครื่องแต่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน หรืออยู่ต่างเครือข่าย ก็ไม่มีความจ าเป็นที่ผู้ใช้จะต้องรู้
http://www.scbeasy.com ต่างเป็นที่อยู่ของระบบงานที่อาจอยู่ในเครื่องเดียวกัน อยู่คนละเครื่องแต่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน หรืออยู่ต่างเครือข่าย ก็ไม่มีความจ าเป็นที่ผู้ใช้จะต้องรู้
กล่าวโดยสรุปคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว เว็บทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนจากการอยู่บนพื้นฐานของ
“เครื่อง” เป็น “ระบบ”
"Internet 3.0"
ยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตเป็นยุคที่เรากำลังจะก้าวไปสู่เป็น ยุคของการสื่อสารเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ (Computer-to-Computer Communication) รายละเอียดในเชิงแนวความคิดของยุคนี้เป็นเรื่องราวที่ต้องทำความเข้าใจกันมากทีเดียว เนื่องจากยุคนี้ “ยังมาไม่ถึง” และจะเป็นยุคที่สำคัญมากของการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทีเดียว
เมื่อกล่าวว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เป็นในยุคที่สาม ผู้อ่านอาจสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ก็ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่แล้วเพื่อให้เกิดอินเตอร์เน็ตไม่ใช่หรือ ทำไมพึ่งมาเชื่อมเอาในยุคที่สาม?
“การเชื่อมต่อ” ในบทความนี้ที่กล่าวมาเป็นการกล่าวถึงการเชื่อมต่อในระดับของสารสนเทศ (Information) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในระดับที่สูงกว่าใน “การรับรู้ความหมาย” กว่าการเชื่อมต่อเพื่อการส่งผ่านข้อมูล (Data Communication)
ในยุคที่สามนี้จะเป็นยุคที่ “ระบบงาน” จะติดต่อสื่อสารกันเพื่อให้สารสนเทศซึ่งกันและกันเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ กล่าวคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว ในยุคนี้ “ระบบงาน” จะให้ “บริการ” สารสนเทศของตนแก่ระบบงานอื่นๆ และใช้บริการสารสนเทศจากระบบงานอื่นๆ เพื่อประกอบเป็นบริการของตนให้แก่ผู้ใช้
"Web 2.0"
จะเห็นได้ว่าในยุคที่สามนี้จะมีการกล่าวถึง “บริการ” ระหว่างกันและในการติดต่อสื่อสารของข้อมูลในระบบนี้ก็ยังผ่านเทคโนโลยีพื้นฐานบางอย่างของเว็บ
ดังนั้นนักการตลาดของหลายบริษัทจึงใช้คำว่า “Web Services” แทนความหมายของยุคที่สามนี้
ในขณะนี้ศัพท์ที่เป็นที่นิยมอีกคำหนึ่งที่จะแทนความหมายของยุคนี้คือ “Web
2.0” (ควรอ่านว่า Web Two Point Oh อย่าอ่านว่าเว็บสองจุดศูนย์)
ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์กว้างๆ เพื่อความหมายเชิงการตลาดมากกว่าที่จะมีความหมายเชิงเทคโนโลยี
ในยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตนั้นถือได้ว่าเป็นยุคที่สองของเว็บ
ความหมายของยุคที่สองของเว็บได้มีผู้อธิบายไว้หลากหลาย แต่ยุคที่สองของเว็บจะอธิบายได้ชัดเจนต้องอธิบายด้วยการนำสถานะของผู้ใช้และการเข้าถึงข้อมูลเป็นตัวตั้ง
ในคำอธิบายในสถานะของผู้ใช้นั้น ในยุคแรกของเว็บจะเป็นยุค “เว็บเพื่ออ่านอย่างเดียว” (Read-Only Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะแยกกันอย่างชัดเจน คนเขียนจะมีหน้าที่เขียนส่วนคนอ่านจะมีหน้าที่อ่าน ไม่ปะปนกัน ส่วนในยุคที่สองจะเป็นยุค “เว็บเพื่อการอ่านและเขียน” (Read-Write Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะเป็นบุคคลเดียวกัน
ส่วนคำอธิบายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลนั้น ในยุคแรกเว็บจะมี “Site” เป็นเว็บไซต์ (Web Site) นั่นคือสารสนเทศจะมีที่อยู่ที่แน่นอน แต่ในยุคที่สองเว็บจะไม่มี “Site” อีกต่อไป สารสนเทศจะเกิดการแลกเปลี่ยนกันโดยระบบงานเพื่อไปหาผู้ใช้ กล่าวอีกมุมหนึ่งคือ ในยุคแรกผู้ใช้ต้อง “ไปหา” สารสนเทศ แต่ยุคที่สองสารสนเทศจะ “มาหา” ผู้ใช้นั่นเอง
"Outlook from Thailand"
ในขณะนี้อินเตอร์เน็ตกำลังก้าวสู่ยุคที่สาม และเว็บซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคของอินเตอร์เน็ตนั้นก็กำลังก้าวสู่ยุคที่สอง ความหวังของเราในฐานะนักพัฒนาซอฟท์แวร์ในประเทศไทยคือเราจะได้เป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ นำพาประเทศไทยให้ปรากฎในแผนที่โลกว่าเราก็เป็นหนึ่งใน “ผู้ให้” เทคโนโลยีแก่ชาวโลกเช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น