วิชา อินเทอร์เน็ตเพื่องานธุรกิจ
รหัสวิชา 2204-2111
หน้าเว็บ
หน้าแรก
คำนำ
จุดประสงค์รายวิชา
สาระน่ารู้
ความรู้ทั่วไป
ติดต่อสอบถาม
บทที่9 จริยธรรมและกฎหมายที่กี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต
จริยธรรมและกฎหมายที่กี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต
ความหมายของจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
จริยธรรม หมายถึง หลักการที่มนุษย์ในสังคมยึดถือปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม และเมื่อนำไปใช้กับการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดของมนุษย์ในขณะนี้ ย่อมหมายถึงมนุษย์จะต้องมีจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เพราะในการใช้อินเทอร์เน็ต มนุษย์ย่อมต้องมีสังคม ซึ่งประกอบด้วยคนหลายคนทั่วโลก สรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้
1.ความเป็นส่วนตัว (
Information Privacy)
2.ความถูกต้อง (
Information Accuracy)
3.ความเป็นเจ้าของ (
Information Property)
4.การเข้าถึงข้อมูล (
Data Accessibility)
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข
Arlene H. Rinaldi
แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกา มารยาทและกำหนดเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า
Neti-quette
ไว้ดังนี้
1.จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมลบ็อกซ์ (
mail box)
หรืออีเมลแอดเดรส (
E-Mail Address)
ที่ใช้อ้างอิงในการรับ-ส่งจดหมาย
ดังนั้น จึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลกล่องจดหมาย (
Inbox)
ของตนเอง ดังนี้
1.ตรวจสอบจดหมายให้บ่อยครั้ง และจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในกล่องจดหมายของตน ให้เลือกภายในโควตาที่กำหนด
2.ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการออกจากระบบกล่องจดหมาย เพื่อลดปริมาณจำนวนจดหมายที่อยู่ในกล่องจดหมาย (
Inbox)
ให้มีจำนวนน้อยที่สุด
3.ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังแหล่งเก็บข้อมูลอื่น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย
4.พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในกล่องจดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
2.จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา
การสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญ ได้แก่
1.ควรสนทนากับผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย
2.ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานการณ์ใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก
3.หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ
4.ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
3.จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว เว็บบอร์ด หรือสื่อทางข่าวสาร
ข้อปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
1.เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็นไม่กำกวม ใช้ภาษาที่สุภาพ
2.ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
3.การเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
4.ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่า โคมลอยหรือข่าวลือ
5.จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ
6.ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับใช้ และอ้างอิงต่อๆ กันมา การเขียนข่าวจึงควรพิจารณาด้วย
7.ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตน
8.การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อไว้ตอนล่างของข้อความ
9.ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
10.ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
11.ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมด โดยไม่มีการสรุปย่อ
12.ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
4.บัญญัติ 10 ประการ
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย
อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการโทรทัศน์ วิทยุต่างๆ ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสาธารณะในแง่มุมต่างๆ ผลกระทบต่อสังคมไทยมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เช่น
ผลกระทบทางบวก
1.ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2.ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
3.ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในเกิดความสนุกในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
ผลกระทบทางลบ
1.ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาลสภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมคมฐานความรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
2.เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
3.เกิดช่องว่าวระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง จนเกิดคำพูดที่ว่า
“
เทคโนโลยีทำให้คนไกลใกล้กันมากขึ้น แต่เทคโนโลยีก็ทำให้คนใกล้ไกลกันมากขึ้น
”
4.เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นโลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
5.อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆ ทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ เป็นต้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตที่สำคัญ นอกจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ จึงควรที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ด้วย
ลิขสิทธิ์ (
Copyright)
คืออะไร
ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น
งานอันมีลิขสิทธิ์
งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ รวมถึงงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
การคุ้มครองลิขสิทธิ์
ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตนในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ ทำการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางวรรณกรรมและศิลปกรรมออกสู่ตลาด ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของคำว่า
“
ลิขสิทธิ์
”
ว่า หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น นั่นก็หมายความว่า เจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิจะทำอย่างไรก็ได้ กับงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง
การละเมิดลิขสิทธิ์
-การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง: คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
-การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม: คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น
บทกำหนดโทษ
1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง: มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม: มีโทษปรับตั้งแต่ 10
,
000 บาท ถึง 100
,
000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50
,
000 บาท ถึง 400
,
000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น